สิวฮอร์โมนคืออะไร มีลักษณะอย่างไร รู้สาเหตุ และแนวทางการป้องกันรักษา

Reading Time: 3 minutes

สิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมนเป็นอย่างไร1000x860

สิวฮอร์โมนเป็นอย่างไร ? รักษา-ป้องกัน วิธีไหนได้บ้าง ?

สิวฮอร์โมน คืออะไร ? เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเกิดสิวฮอร์โมน ? หมอมีข้อมูลเกี่ยวกับสิวฮอร์โมนมาแนะนำครับ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกันและดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

สารบัญ สิวฮอร์โมน


สิวฮอร์โมนคืออะไร ?

สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) คือ สิวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศภายในร่างกายที่ไม่สมดุล และส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายสูงขึ้น เพิ่มโอกาสที่จะเกิดสิวมากขึ้น โดยสามารถเกิดสิวได้หลากหลายชนิดครับ ทั้งสิวอักเสบ สิวอุดตัน

ลักษณะสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน มีลักษณะคล้ายสิวปกติทั่วไปครับ มักขึ้นที่คาง รอบปาก กรอบหน้า เป็นสิวอักเสบ ตุ่มแดงขนาดใหญ่ บางรายอาจมีอาการสิวเห่อขึ้นทั่วหน้า จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดิม ซ้ำ ๆ เป็นประจำ เช่น ช่วงก่อนหรือหลังมีประจำเดือน, ช่วงระยะเวลาที่มีความเครียดสะสม หรือช่วงที่ใช้ยาคุม ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดสิวในช่วงนี้ เพราะส่งผลกระทบให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนเช่นกัน


สิวฮอร์โมนเกิดจากสาเหตุใด ?

สาเหตุหลักของสิวฮอร์โมน เกิดจากปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สมดุลภายในร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนครับ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน (Androgens) มากขึ้น หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ซึ่งสามารถกระตุ้นการผลิตไขมันในต่อมไขมันให้ผลิตไขมันส่วนเกิน (Seborrhea) เพิ่มมากขึ้น

วงจรสิว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นหญิงช่วงก่อนและหลังรอบเดือนในแต่ละเดือน ฮอร์โมนจะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้สร้างมากอย่างผิดปกติ  จนเกิดการอุดตันรูขุมขน มีการอักเสบของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน (pilosebaceous unit) กลายเป็นสิวจากฮอร์โมนในที่สุดครับ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดสิวฮอร์โมนจากภายนอก เช่น แสงแดด ฝุ่นควันและมลภาวะต่าง ๆ


สิวฮอร์โมน รักษาอย่างไร ? 

การรักษาสิวฮอร์โมน สามารถรักษาได้หลายวิธีครับ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแต่ละบุคคล 

โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดการรักษาที่แตกต่างกันออกไป แบ่งเป็น 3 วิธีหลัก ๆ ดังนี้ 

1.รักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติ 

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนแบบธรรมชาติ สามารถทำได้เองในกรณีที่สิวมีระดับความรุนแรงน้อย เช่น 

  • ลดการกระตุ้นให้เกิดสิวเพิ่มขึ้น เช่น การจับ สัมผัสบริเวณหน้าบ่อย ๆ การขัดหน้า ฟอกหน้า พอกหน้า แกะ เกา หรือการทาผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาขายตามสื่อออนไลน์แบบไม่ได้มาตรฐาน ที่ส่งผลให้สิวอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • ทำความสะอาดใบหน้าที่เหมาะสม ไม่ขัดหรือฟอกใบหน้ามากเกินความจำเป็น 
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวก่อให้เกิดการอุดตันมากยิ่งขึ้น 
  • รับประทานน้ำมันปลา เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้

2.รักษาสิวฮอร์โมนด้วยยา 

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนด้วยยามีทั้งยาทาและยารับประทานครับ  

  • สิวเล็กน้อย (mild acne) สามารถใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ ดังนี้ 
    • Benzoly peroxide 2.5%-5% ( เป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียได้)
    • Topical retinoids 0.01%-0.1% ( เร่งการสร้างเซลล์และผลัดเซลล์โดยเฉพาะที่ผนังรูขุมขน ทำให้หัวสิวหลุดลอก ลดการเกิดสิว และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ)
    • Clindamycin 1% solution (เป็นยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ ที่ควรใช้ร่วมกับ Benzoyl Peroxide เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการดื้อยา)
    • Azelaic acid   (เป็นกรดที่ได้จากสารสกัดตามธรรมชาติ สามารถเป็นยาต้านจุลชีพ(Antimicrobial) ช่วยลดการอุดตันรูขุมขน)
    • สิวปานกลาง (mederate acne)จะพิจารณาให้ยาทาในกลุ่ม mild acne ร่วมกับยารับประทานกลุ่ม tatracycline 
    • สิวรุนแรง (severs acne) ในกรณีที่การรักษาไม่ตอบสนอง หรือมีความรุนแรงขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังครับ  
ความรุนแรงของสิว

การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงและชนิดของสิวที่เกิดขึ้น เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสิวฮอร์โมนอย่างถูกวิธีครับ โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรเลี่ยงยาทากลุ่ม retinoids และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาครับ

3.รักษาสิวฮอร์โมนด้วยหัตถการทางการแพทย์ 

การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยการทำหัตถการอื่น ๆ ที่สามารถช่วยให้สิวจากฮอร์โมนลดลง เช่น 

  • การทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง (Phototherapy and Laser)

เป็นวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนและสิวชนิดอื่น ๆ ช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย C.acne ลดการอักเสบ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดรอยดำ หลุมสิว หรือรอยแผลเป็นจากสิวได้ 

  • การฉีดสิว

เป็นการฉีดยาเพื่อลดการอักเสบของสิวชนิดเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง ให้ผลการรักษาที่ดี แต่ควรใช้ยาทาอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย

  • การฉีดมาเด้คอลลาเจน-เมโสหน้าใส

การฉีดเมโสหน้าใส – มาเด้คอลลาเจน เป็นหัตถการที่ช่วยฟื้นฟูผิวที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขับล้างสารพิษออกจากผิวโดยเฉพาะ สามารถช่วยแก้ปัญหาผิวหน้า ช่วยลดสิว ผดผื่น ลดการอักเสบ ขับสารพิษ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการฟื้นฟูผิว ให้สุขภาพดี ผิวแข็งแรงขึ้นครับ

ฉีดมาเด้ลดสิวฮอร์โมน

วิธีป้องกันสิวฮอร์โมน

สิวฮอร์โมน(Hormonal Acne) ถือเป็นสิวที่หลีกเลี่ยงได้ยากครับ แต่ป้องกันและลดอัตราความเสี่ยงในระดับรุนแรงได้ เช่น 

  • งดการบีบ แคะ หรือสัมผัสบริเวณที่เกิดสิว
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยทำให้องค์ประกอบต่าง ๆ ในผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลี่ยงของหวาน ของมัน เน้นผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ไม่อุดตันรูขุมขน 
  • ทำความสะอาดใบหน้า และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย วันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่แต่งหน้าบ่อย ๆ ควรทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาดทุกครั้งครับ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดสิวและลดระดับความรุนแรงของสิวจากฮอร์โมนได้
ล้างหน้าป้องกันสิวฮอร์โมน

Q&A  สิวฮอร์โมน

เป็นสิวปกติ กับ เป็นสิวฮอร์โมนสังเกตได้อย่างไร ?

สิวฮอร์โมนมักจะขึ้นเป็นเวลา และเกิดในบริเวณเดิม เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน หรือช่วงที่มีปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อฮอร์โมนได้ เช่น ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ 

สิวฮอร์โมนหายตอนไหน ?

การรักษาสิวฮอร์โมนต้องอาศัยระยะเวลาครับ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันตามสภาพผิว และระดับความรุนแรง โดยทั่วไปสิวฮอร์โมนอาจอยู่ได้เพียง 2-3 วัน แต่ในบางกรณีก็คงอยู่ได้ถึง 2-3 สัปดาห์ แล้วค่อย ๆ จางหายไป

สิวฮอร์โมน ขึ้นบริเวณไหนได้บ้าง ?

สิวฮอร์โมนมักจะขึ้นบริเวณ T-Zone รอบปาก คาง กราม บริเวณกรอบหน้า รวมถึงไปถึงบริเวณแผ่นหลังและหน้าอกครับ

กินยาคุมกำเนิดช่วยลดสิวฮอร์โมนไหม ?

ยาคุมกำเนิด ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน สามารถช่วยรักษาสิวได้ครับ เนื่องจากตัวยาจะไปลดระดับฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลง ทำให้การผลิตไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังลดลง ซึ่งช่วยลดการเกิดสิว แต่ไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานครับ เพราะยาคุมอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้  

กินยาคุมกำเนิดช่วยลดสิวฮอร์โมนไหม

ของหวาน ของทอด ทำให้สิวฮอร์โมนเห่อได้จริงไหม ?

อาหารบางชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงและใยอาหารต่ำ จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามากครับ  ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เกี่ยวข้องกับการเกิดสิวโดยตรง ดังนั้นเมื่อเกิดสิวควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนม เค้ก ขนมปัง เป็นต้น แต่ก็ยังไม่มีผลการวิจัยใดรองรับว่าทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งบ่อย ๆ แล้วจะทำให้เกิดสิวนะครับ


สรุป 

สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาสิวที่ค่อนข้างเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถลดความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามลดความเครียด รวมถึงการดูแลตัวเองรักษาความสะอาด ในกรณีที่สิวเกิดแล้วและอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ และต้องการรักษาควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังครับ  เพื่อแก้ไขได้ตรงจุด สิวหายเร็วขึ้นและไม่ทิ้งรอยจุดด่างดำ หรือ หลุมสิวตามมาครับ 


เอกสารอ้างอิง


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ปัญหาที่เจอได้ ทำไมบางคนถึงเป็นก้อน หลังฉีดเต็มแค่ไหน 2024

Reading Time: 8 minutes - ร้อยไหมหน้าเรียว ในกรุงเทพฯ ที่ไหนดี ? - ร้อยไหมหน้าเรียว ที่ไหนดี ? ก่อนร้อยไหมควรพิจารณาอะไรบ้าง ? - คลินิกร้อยไหมหน้าเรียวที่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากอะไร ? - วิธีการเลือกการร้อยไหมกับคลินิกร้อยไหม - ร้อยไหมหน้าเรียวกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ดีอย่างไร ?

October 18, 2024 อ่านต่อ

Ulthera vs Hifu ยี่ห้อต่าง ๆ กับ Thermage เลือกทำอะไรดี ?

Reading Time: 5 minutes - ก่อนทำต้องรู้! ulthera กับ hifu ยี่ห้อต่าง ๆ มีที่มาอย่างไร ? - การทำงานของ ulthera กับ hifu ยี่ห้อต่าง ๆ และ Thermage - เปรียบเทียบความแตกต่าง Ulthera กับ Hifu ยี่ห้อต่าง ๆ และ Thermage แบบเห็นภาพชัด - ที่มาของเทคโนโลยี macrofocus - สรุป ulthera กับ hifu ยี่ห้อต่าง ๆ และ Thermage ต่างกันยังไง

ดริปวิตามินผิว กี่ครั้งเห็นผล ? รู้ข้อมูลก่อนตัดสินใจ ซื้...

Reading Time: 3 minutes - ตอบข้อสงสัย ดริปวิตามินผิว กี่ครั้งเห็นผล ? - ดริปวิตามิน เห็นผลทันทีเลยไหม ? - ระยะเวลาที่เห็นผล หลังดริปวิตามินผิว - ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาที่เห็นผลหลังดริปวิตามินผิว

ดริปวิตามิน ราคาเริ่มต้น 1,500 บาท คุ้มค่าไหม ต้องฉีดกี่ค...

Reading Time: 3 minutes - ดริปวิตามินคืออะไร ? - ดริปวิตามินราคาเท่าไหร่ ? - อะไรเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาดริปวิตามินผิว - ประโยชน์ของการดริปวิตามิน - ดริปวิตามินราคาถูก ๆ บุพเฟ่ต์ ดีจริงไหม ?

ลดต้นแขนให้เรียวสวย ด้วย 10 วิธีที่ทำด้วยตัวเองและการแพทย...

Reading Time: 3 minutes - ต้นแขนใหญ่ ลดไม่ลงเกิดจากอะไร ? - รวม 10 วิธีลดต้นแขน ที่ทำด้วยตัวเอง และวิธีทางการแพทย์ - สรุปลดต้นแขนวิธีไหนเร็วที่สุด

ฟิลเลอร์ขมับยี่ห้อไหนดีที่สุดในตลาด ? เปรียบเทียบทุกด้าน ...

Reading Time: 5 minutes - ฟิลเลอร์ขมับยี่ห้อไหนดี รุ่นที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง ? - เจาะลึก! ฉีดฟิลเลอร์ขมับ แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร ? - ฉีดฟิลเลอร์ขมับยี่ห้อที่ไม่คุ้นหู ราคาถูกมาก ๆ อันตรายไหม ? - เช็กก่อนฉีดฟิลเลอร์ขมับ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี บริการที่ปลอดภัย - ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ราคามาตรฐานอยู่ที่เท่าไหร่ ?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า