อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากครับ ถ้าฉีดโดยใช้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) ซึ่งมีข้อดีคือปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบอาการแพ้ก่อนฉีด มีความคงตัว อยู่ในร่างกายได้นานและสามารถสลายไปเอง แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ จะมีข้อยกเว้นในบางกรณีหมอจะอธิบายเพิ่มเติมในบทความนี้ครับ
เลือกอ่าน
- ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์?
- อาการแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจาดการฉีดฟิลเลอร์?
- หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไรเพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้น?
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์?
ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ โดยการฉีดฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับผู้ที่มีข้อจำกัด ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือแพ้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้เด็ดขาด
- สตรีมีครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก มีแผลฟกช้ำง่าย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (ASA), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDS), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), วิตามินอี (Vitamin E), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko biloba) เป็นต้น
- กรณีที่เป็นเริม หรืองูสวัดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้ครับ
อาการแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์
ผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถเกิดขึ้นได้ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- เกิดรอยแดง หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- การเกิดรอยนูน หรือผิวไม่เรียบ (beading) เนื่องจากใช้เทคนิคการฉีดที่ตื้นเกินไป เช่น การฉีดในบริเวณที่ชั้นผิวมีความบาง การฉีดฟิลเลอร์ปริมาณมากเกินไป หรือเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เห็นฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือเป็นรอยนูนได้ครับ
- เกิดปัญหาการเคลื่อนที่ของฟิลเลอร์ โดยฟิลเลอร์มีการเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ฉีด ไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ มักเกิดเมื่อมีการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อยๆครับ อย่างไรก็ตาม การเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลเหมาะสมและเทคนิคการฉีดที่ดีจะช่วยลดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อนที่จากบริเวณที่ฉีดและสามารถรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ได้นานขึ้น
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ ที่มีลักษณะเป็นก้อน นูน แดงอักเสบ ซึ่งอาการแพ้ชนิดนี้บางครั้งอาจพบได้ ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลายๆ เดือนหรือเป็นปี ขึ้นกับอายุใช้งานของฟิลเลอร์ชนิดนั้นๆ และภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่มีลักษณะเป็นผื่น ลมพิษแบบรุนแรง (angioedema) จะพบได้น้อยมาก หากมีอาการต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาครับ
- การติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ มีอาการตั้งแต่ ปวดบวม แดง ร้อน มีตุ่ม หรือก้อนหนองบริเวณที่ฉีด เนื่องจากเทคนิควิธีการฉีดที่ไม่สะอาด คลินิกไม่ได้มาตรฐาน หรือฉีดกับหมอกระเป๋า
- การที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้นำไปสู่อาการเนื้อตาย (necrosis) บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยง
- ตาบอด ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์เนื่องมาจาก ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือกดหลอดเลือดแดง (supratrochlear and supraorbital artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (ophthalmic artery) มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ตัวอย่างเคสที่แก้ไขกรณีเกิดอุบัติเหตุฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด มีเนื้อตายชั่วคราว (จุดสีดำๆ) จากการฉีดฟิลเลอร์จมูก หากทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง และใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ HA ที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัย
หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไรเพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้น?
ถ้าอยากให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้นควรใส่ใจในการดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ครับ และถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ให้อยู่ได้นานขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่บางอย่างควรหลีกเลี่ยงเพราะเป็นส่วนทำให้ฟิลเลอร์สลายเร็วขึ้นหรือกระตุ้นการอักเสบได้
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เหล้า เบียร์ ไวน์ น้ำหมัก
- งดหมูกะทะ ปิ้งย่าง ชาบู ที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อนๆ
- งดอาหารที่เผ็ดมากๆ แสบร้อนจนหน้าแดง
- งดอาหารหมักดอง เพราะมีสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง
- งดอาหารที่หวานจัดๆ นมวัว เพราะสามารถกระตุ้นการบวนการอักเสบได้
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารดิบจากร้านอาหารที่ไม่สะอาดเนื่องจากพยาธิบางชนิดจะทำปฎิกริยากับฟิลเลอร์แล้วเกิดการอักเสบได้
- ควรงดสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด จะทำให้ยุบบวมช้า และผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
Tips : มีหลายงานวิจัยที่ระบุว่าสารชื่อ bromelain ที่อยู่ใน”แกน”สัปปะรดสามารถกินเพื่อช่วยให้อาการปวดบวมช้ำหลังจากร้อยไหมหายได้ไวขึ้นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามการฉีดฟิลเลอร์ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ควรฉีดโดยแพทย์เท่านั้น หากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดี มีประสบการณ์สูงก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาภายหลังและสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุดครับ
อ่านเพิ่มเติม : [ข้อห้าม-ข้อปฏิบัติ] ก่อน-หลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้ผลอยู่ได้นานขึ้น
สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ
6 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อนทำปากกระจับ เลือกวิธีไหนดี ให้ปากสวยอวบอิ่มเป็นธรรมชาติ
Reading Time: 4 minutes - ใครบ้างที่เหมาะกับการทำปากกระจับ? - ทำปากกระจับมีวิธีไหนบ้าง? - ทำปากกระจับ เจ็บไหม? - ปากกระจับกี่วันเข้ารูป - ทําปากกระจับ กี่วันหายบวม?
ฉีดสลายฟิลเลอร์ กี่วันหาย มีผลข้างเคียงหรือไม่ ฉีดบริเวณไ...
Reading Time: 3 minutes - ฉีดสลายฟิลเลอร์ คืออะไร? - ฉีดสลายฟิลเลอร์ อันตรายไหม? - ฟิลเลอร์ มีกี่ชนิด? - ฟิลเลอร์สลายหมดไหม?
ฟิลเลอร์ยกหน้า แก้ปัญหาหน้าตก คืนความอ่อนเยาว์ ยกกระชับ ป...
Reading Time: 4 minutes - ฟิลเลอร์ยกหน้าคืออะไร? - เทคนิคฉีดฟิลเลอร์ยกหน้า - ฟิลเลอร์ยกหน้า ฉีดจุดใดได้บ้าง? - ฉีดฟิลเลอร์ยกหน้าเหมาะสำหรับใคร? - ฉีดฟิลเลอร์ยกหน้าใช้กี่cc?
ฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี? ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ใต้ตา คาง ควรเลื...
Reading Time: 7 minutes - คุณสมบัติต่าง ๆ ในทางเทคนิคของฟิลเลอร์ที่ควรรู้ - จุดสังเกตฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อต่าง ๆ - เลือกฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี เลือกรุ่นให้เหมาะกับจุดต่าง ๆ บนใบหน้า เช่นใต้ตา ร่องแก้ม มุมปาก คาง ขมับ จมูก ปาก แก้มตอบ - ฉีดฟิลเลอร์ ที่ไหนดี
คลายข้อสงสัย ฟิลเลอร์เน่า เกิดจากสาเหตุใด พร้อมแนวทางป้อง...
Reading Time: 3 minutes - ฟิลเลอร์เน่าเกิดจากสาเหตุใด? - อาการฟิลเลอร์เน่าเป็นอย่างไร? - วิธีแก้ไขฟิลเลอร์เน่า - ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม ดูอย่างไร? - วิธีสังเกตคลินิกฉีดฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน
หลังร้อยไหม มีข้อปฏิบัติ – ข้อห้าม อะไรบ้างที่ควรรู...
Reading Time: 5 minutes - ข้อปฎิบัติก่อนฉีดฟิลเลอร์และก่อนร้อยไหม - ข้อปฎิบัติหลังฉีดฟิลเลอร์และวิธีดูแลหลังร้อยไหม - ก่อนฉีดฟิลเลอร์และก่อนร้อยไหม