ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม ?
บทความนี้จะอธิบายถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายของฟิลเลอร์ว่าการ ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ? ที่คนส่วนมากยังเข้าใจผิดและสับสนจากข่าวตามสื่อต่าง ๆ ครับ เนื่องจากคำว่า “ฟิลเลอร์” ที่คนไทยส่วนมากเข้าใจนั้นมีความหมายไม่ตรงกับ Injectible Filler ในทางการแพทย์สากล
ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ?
ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ต้องดูว่าใช้ฟิลเลอร์ประเภทไหนครับ ฟิลเลอร์ (Filler) ในทางการแพทย์ หมายถึง สารฉีดเติมเต็ม (Injectible Filler) ซึ่งในต่างประเทศ มีหลายประเภทดังนี้
- HA (Hyaluronic Acid) เป็นฟิลเลอร์ที่นิยมและปลอดภัยที่สุด สามารถย่อยสลายได้ และสามารถฉีดใหม่ได้เรื่อยๆ มีใช้แพร่หลายทั่วโลก
- Collagen จากสัตว์ ไม่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากจะมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ แพ้บวมแดงได้ง่าย
- Transplanted Fat (เติมไขมัน) เหมาะกับคนที่ต้องการฉีดครั้งละมากๆ 10-20 cc ขึ้นไป
- Biosynthetic polymers เช่น Calcium hydroxylapatite, polymethylmethacrylate, ซิลิโคนเหลว กลุ่มนี้จะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่หมด ไม่ปลอดภัย ไม่แนะนำให้ใช้ ไม่ผ่าน อย.
แต่คำว่า “ฟิลเลอร์” ที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและที่หมอในประเทศไทยกล่าวถึง จะหมายถึง HA (Hyaluronic Acid) ในข้อ 1 นั่นคือ ฟิลเลอร์แท้ที่ปลอดภัย
ฟิลเลอร์ Hyaluronic Acid ที่ปลอดภัย ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ?
การฉีดสารเติมเต็ม (ฟิลเลอร์) จะช่วยยกพยุงและทดแทนส่วนสำคัญของโครงสร้างผิว คอลลาเจน และ ไฮยารูรอน ที่ร่างกายสูญเสียไป จนทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น และมีริ้วรอย ร่องลึก
เมื่อฉีดฟิลเลอร์ ประเภท Hyaluronic Acid ซึ่งถูกผลิตเลียนแบบสารที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ ในจุดที่มีริ้วรอย เนื้อฟิลเลอร์จะเข้าไปทำให้ริ้วรอยตื้นขึ้น ทำให้ผิวเต่งตึง เรียบเนียน และด้วยคุณสมบัติอุ้มน้ำ มีความคงตัว ฟิลเลอร์สามารถใช้ในการปรับโครงสร้างใบหน้า เสริมคาง เสริมขมับ หน้าผาก ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติครับ
ฟิลเลอร์อยู่ได้นานแค่ไหน ?
ถ้าเป็นฟิลเลอร์ปลอม จะหมายถึง ฟิลเลอร์ประเภทที่ 4 Biosynthetic polymers คือ ฟิลเลอร์ราคาถูกที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายไม่หมด อยู่ได้เกิน 5 ปี และยังหมายรวมถึง ฟิลเลอร์ (Hyaluronic Acid) ประเภทที่ 1 ที่ราคาถูกไม่ได้มาตรฐาน นำเข้าแบบผิดกฏหมาย ที่ไม่ผ่าน อย. และย่อยสลายไวเกินไปคุณสมบัติไม่คงตัวอีกด้วย
จะเห็นว่า การเติมไขมัน และ ฟิลเลอร์ปลอม ในต่างประเทศจะจัดรวมไว้ในคำว่า Filler (ฟิลเลอร์) ด้วยทั้งหมด นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงพบหลายงานวิจัยในต่างประเทศให้ข้อมูลว่าฟิลเลอร์นั้นอันตราย ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน นั่นเป็นเพราะคำว่าฟิลเลอร์ในทางสากลนั้นจะหมายรวมถึงฟิลเลอร์ประเภทที่ 1,2,3,4 ทั้งหมด
ดังนั้นที่ข่าวหรือสื่อต่าง ๆ ตีพิมพ์ ก็จะยึดตามหลักสากล ซึ่งก็จะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนไทยส่วนมาก เช่น ในสื่อเขียนว่า ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง ทั้ง ๆ ที่เมื่อดูเนื้อข่าวแล้วฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นฟิลเลอร์ประเภทที่ 4. ที่ไม่ปลอดภัยและฉีดกับหมอกระเป๋า
ถ้าจะให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจถูกต้องควรจะพาดหัวข่าวว่า ฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้วหน้าพัง แบบนี้แทนครับ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฉีดฟิลเลอร์แท้แล้วจะปลอดภัย 100% ฉีดฟิลเลอร์แท้ก็มีโอกาสเกิดอันตรายได้ หลายคนจึงกังวลโดยเฉพาะจุดที่ใกล้ดวงตา อย่างการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา แต่ฟิลเลอร์แท้จะสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์และเทคนิคในการฉีดของแพทย์ด้วยครับ
ตัวอย่างเคสที่แก้ไขกรณีเกิดอุบัติเหตุฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด มีเนื้อตายชั่วคราว (จุดสีดำ ๆ) จากการฉีดฟิลเลอร์จมูก หากทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง และใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ HA ที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัย
อันตรายจากฟิลเลอร์ปลอมมีอะไรบ้าง ?
- เนื้อตาย เนื้อตายนั้นเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ จะพบได้บ่อยที่สุดในฟิลเลอร์ประเภทที่ 3 หรือการเติมไขมัน (Transplanted fat)
- แต่หากเป็นฟิลเลอร์ประเภทที่ 1 HA (Hyaluronic Acid) ที่เป็นของแท้ หมอสามารถตรวจพบการอุดตันในเส้นเลือดได้จากการเปลี่ยนแปลงของสีผิวขณะฉีดและหลังฉีด และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีเนื่องจาก ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1 HA (Hyaluronic Acid) นั้นสามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้โดย เอนไซม์ที่ชื่อ Hyaluronidase สามารถละลายหมดได้ 100% ทำให้รักษาให้เนื้อกลับคืนมาได้ 100%
- ตาบอด(blindness) พบได้ในการเติมไขมัน (Transplanted fat) หรือฟิลเลอร์ประเภทที่ 3 มากที่สุด
- แต่หากฉีดฟิลเลอร์ด้วย Hyaluronic Acid (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1) โดยแพทย์ที่ฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง (ตามที่จะอธิบายต่อไปนี้) ความเสี่ยงในการเกิดตาบอด ก็จะน้อยมากๆ ประหนึ่งว่าการนั่งรถยนต์โดยสารก็ยังเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่า
- แพ้บวมแดง(reaction,granuloma) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็งเมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี เกิดขึ้นได้ในฟิลเลอร์ประเภทที่ 4 มากที่สุด
- การอักเสบติดเชื้อ(infection) ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก และพบได้บ่อยในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน
- การย้อยเป็นก้อนแข็ง(migration) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ พบได้มากที่สุดในฟิลเลอร์ประเภทที่ 4
จากกราฟจะเห็นว่าการเติมไขมัน (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 3) มีความเสี่ยงสูงที่สุด ที่จะเกิดเนื้อตายและตาบอด เนื่องจากไม่มียาที่ฉีดสลายออกได้ทันที
การฉีดฟิลเลอร์ที่ปลอดภัย นั่นคือการเลือกใช้ Hyaluronic Acid (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1) ที่ได้มาตรฐาน สามารถย่อยสลายได้ในระยะ 6-18 เดือน มี อย.รับรอง และเนื่องจาก 60% ของคลินิกต่าง ๆ ที่เปิดอยู่ในปัจจุบันมีการตรวจเจอ ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์หิ้ว ที่สลายไม่หมด ทางที่ดีคนไข้ควรศึกษาวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) แท้ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเองครับ เพราะถ้าเจอฟิลเลอร์ปลอม ก็อาจจะเกิดปัญหาตามที่เป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ
ผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์ ที่ไม่เป็นอันตราย
หากฉีดฟิลเลอร์แท้ (Hyaluronic Acid) อาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ ดังนี้ครับ
- อาการบวมเข็มหลังฉีด หรือผื่นคัน สามารถหายไปเองได้ภายใน 1 สัปดาห์
- หลังฉีดฟิลเลอร์จะยังไม่เข้าที่ 100% อาจมีอาการบวมจากตัวฟิลเลอร์ แต่จะค่อย ๆ เข้าที่ใน 2 สัปดาห์
- รอยเข็มเล็ก ๆ หลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถแกะพาสเตอร์ที่ติดออกได้ใน 1 ชั่วโมงหลังฉีด
นอกจากนี้สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการแพ้ฟิลเลอร์ (กรณีนี้เกิดขึ้นได้น้อยมากครับ) ได้ในบทความ อาการแพ้ฟิลเลอร์ คืออะไร? อันตรายไหม? ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์?
A. เลือกสารเติมเต็มที่สามารถย่อยสลายออกได้ทันทีหากเกิดปัญหา เช่น Hyaluronic Acid แท้ (ประเภท 1) สามารถใช้ hyaluronidase ฉีดเพื่อสลายออกได้ 100% ภายใน 5 นาที (แต่ประเภทที่ 2,3,4 ยังไม่มียาที่ฉีดสลายออกได้ทันที)
อ่านเพิ่มเติม : วิธีเลือกใช้ฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) แท้ยี่ห้อไหนดีตามจุดต่างๆบนใบหน้า
B. เข็มแหลมจะใช้ฉีดฟิลเลอร์ชิดกระดูกเท่านั้น
เข็มทู่จะใช้ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นเนื้อที่ตื้นขึ้นมา หรือสามารถฉีดชิดกระดูกได้ในบางจุด ถึงแม้จะเป็นเข็มทู่ก็ไม่สามารถหลบหลีกเส้นเลือดได้ 100% ต้องอาศัยเทคนิคการฉีดในข้อต่อๆ ไปช่วยเสริม (ในยุคแรกๆ ของ Hyaluronic Acid มีหมอจำนวนไม่น้อยที่ประมาทว่าใช้เข็มทู่แล้วจะไม่เข้าเส้นเลือด จึงทำให้เกิดเคสเนื้อตายหลายเคส ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้เทคนิคการฉีดอย่างปลอดภัย ก็สามารถลดความเสี่ยงจุดนี้ลงได้มาก)
C. สำหรับเข็มทู่ ควรใช้ยาชาฉีดนำเข้าไปในบริเวณนั้นๆ ก่อน ยาชาเป็นน้ำจะช่วยให้เส้นเลือดลื่น และลดโอกาสที่เข็มทู่จะเข้าเส้นเลือดได้
D. ก่อนที่หมอจะดันยาทุกครั้ง หมอจะต้องทดสอบโดยการดูดเข็มเข้ามาก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเข็มไม่เข้าเส้นเลือด โดยจะต้องดูดค้างไว้อย่าน้อย10วินาที จึงจะมั่นใจและเดินยาได้ หากเข็มมีการตัดผ่านเส้นเลือดขณะที่ดูดเข้มเข้ามา จะมีเลือดผสมเข้ามาในเข็มด้วย
E. ทั้งเข็มทู่และเข็มแหลมควรเลือกใช้ขนาดของเข็มที่ไม่เล็กจนเกินไป ขนาดที่เหมาะสมคือ 22G-25G เข็มที่ขนาดเล็กเกินไปมีข้อเสียดังนี้
- เพิ่มความเสี่ยงในการแทงเข้าหลอดเลือด
- ขณะที่หมอดูดเข็มเพื่อทดสอบก่อนฉีด ถ้าเข็มเล็กเกินไป อาจจะทำให้ดูดไม่เจอเลือดถึงแม้จะเข้าเส้นเลือด
- ขณะที่เดินยาถ้ารูเข็มเล็กจะเพิ่มแรงดัน และเพิ่มโอกาสที่ฟิลเลอร์จะเข้าเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น
F. ขณะที่เดินยาหมอจะคลำปลายเข็ม เพื่อตรวจสอบทุกครั้งว่ามีฟิลเลอร์ออกจากปลายเข็มและทำให้เนื้อยกขึ้น เต็มขึ้น เหมือนเป่าลมลูกโป่งแล้วเห็นลูกโป่งฟองขึ้น จะมั่นใจได้ว่าฟิลเลอร์ไม่ได้เข้าหลอดเลือด
G. ขณะเดินยาหมอจะคอยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสีผิวคนไข้ ถ้าฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด สีผิวจะซีดหรือแดงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ก็จะสามารถฉีดสลายเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที
H. ในแต่ละจุดที่ฉีดหมอจะเดินยาอย่างช้าๆ เพื่อให้เกิดแรงดันน้อยที่สุด และฉีดปริมาณน้อยๆ ในแต่ละจุด ไม่เกินจุดละ 0.1 cc ถ้าสังเกตุเห็นสิ่งผิดปกติก็จะสามารถแก้ไขได้ทันที โดยที่ปัญหานั้นๆจะยังไม่กระจายบริเวณกว้าง
ซึ่งเทคนิค A-H ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นเทคนิคที่แพทย์ของ V square clinic ทุกคนใช้ในการฉีดฟิลเลอร์เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 100% แก่คนไข้ครับ
1. เลือกฉีดฟิลเลอร์ ในคลินิกที่ได้มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ
คลินิกที่ได้มาตรฐาน สังเกตจาก ป้ายชื่อสถานพยาบาล และเลขที่ใบอนญาต 11 หลัก ว่าเปิดอย่างถูกต้อง ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข และควรตั้งอยู่ในทำเลที่กว้างขวาง สะอาด เช่น ห้างสรรพสินค้า สามารถเดินทางเข้ามาติดต่อที่คลินิกได้สะดวก
2. ฉีดฟิลเลอร์แท้เท่านั้น
ในปัจจุบันยังมีข่าวการใช้ฟิลเลอร์ปลอม ที่อันตรายมาฉีดอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นฟิลเลอร์แท้ (HA) ที่ปลอดภัย ควรศึกษาจุดสังเกตฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ และขอตรวจสอบกล่องก่อนฉีดทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นของแท้ แกะกล่องใหม่ครับ
3. เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์มีประสบการณ์
การฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ปัจจัยที่สำคัญคือแพทย์ผู้ทำการฉีดฟิลเลอร์ ควรมีประสบการณ์ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด รวมถึงเลือกรุ่นฟิลเลอร์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ไม่เรียบเนียนไปกับผิว หรืออันตรายอื่น ๆ
4. เลือกคลินิกที่มีรีวิว
การดูรีวิวของคลินิกต่าง ๆ ไม่ควรดูแต่ที่เป็นรูปถ่าย หรือในช่องทางของคลินิกเพียงอย่างเดียวครับ เพราะตกแต่งได้ง่าย ควรดูรีวิวจากช่องทางที่เป็นกลาง มีความน่าเชื่อถือ คลินิกไม่สามารถลบได้ สามารถเห็นผลลัพธ์การฉีดฟิลเลอร์จากผู้ใช้บริการจริง
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย และผลออกมาดูเป็นธรรมชาติ
สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ
5 อาการหลังทำ HIFU ผลข้างเคียง เจ็บ บวม ช้ำ ปกติหรือไม่ ดูแลตัวเองอย่างไร?
Reading Time: 2 minutes- หลัง HIFU ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? - วิธีดูแลตัวเองหลังทำ hifu เพื่อคงผลลัพธ์ได้นานขึ้น - เลือกคลินิกทำ hifu ที่ไหนปลอดภัย เห็นผล
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ปัญหาที่เจอได้ ทำไมบางคนถึงเป็นก้อน หลัง...
Reading Time: 8 minutes- ร้อยไหมหน้าเรียว ในกรุงเทพฯ ที่ไหนดี ? - ร้อยไหมหน้าเรียว ที่ไหนดี ? ก่อนร้อยไหมควรพิจารณาอะไรบ้าง ? - คลินิกร้อยไหมหน้าเรียวที่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากอะไร ? - วิธีการเลือกการร้อยไหมกับคลินิกร้อยไหม - ร้อยไหมหน้าเรียวกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ดีอย่างไร ?
หน้าหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ เกิดจากอะไร? รวมวิธีแก้ไข ห...
Reading Time: 5 minutesหน้าหมองคล้ำ สาเหตุเกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย การทำให้หน้าใสขึ้นมีหลายวิธีครับ แต่ก่อนอื่นจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าหน้าหมองคล้ำ สาเหตุเกิดจากอะไร? วิธีแก้หน้าหมองคล้ำแบบเร่งด่วนมีวิธีไหนบ้าง? พร้อมวิธีป้องกันหน้าหมองคล้ำ ติดตามได้ในบทความนี้ครับ
ฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ? ใต้ตา ปาก ร่องแก้ม คาง ควรเลือกใ...
Reading Time: 11 minutes- คุณสมบัติต่าง ๆ ในทางเทคนิคของฟิลเลอร์ที่ควรรู้ - จุดสังเกตฟิลเลอร์แท้ยี่ห้อต่าง ๆ - เลือกฉีดฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี เลือกรุ่นให้เหมาะกับจุดต่าง ๆ บนใบหน้า เช่นใต้ตา ร่องแก้ม มุมปาก คาง ขมับ จมูก ปาก แก้มตอบ - ฉีดฟิลเลอร์ ที่ไหนดี
ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม หลังฉีดหน้าเด็กแค่ไหน ทำไมบางคนทำแล้ว...
Reading Time: 6 minutes- การเตรียมตัวก่อนฉีด-หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม - เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแบบต่างๆ 4 แบบ - ฟิลเลอร์ร่องแก้ม vs ร้อยไหมก้างปลาดึงร่องแก้ม vs ร้อยไหมเติมเต็มร่องแก้ม vs Hifu ร่องแก้ม - ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนเหมาะกับร่องแก้มมากที่สุด และ จุดสังเกตุฟิลเลอร์ของแท้ยี่ห้อต่างๆ
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม? คำถามที่ทำให้หลายคนยังลังเลจะฉีดฟิ...
Reading Time: 2 minutes- ร้อยไหมหน้าเรียว ในกรุงเทพฯ ที่ไหนดี ? - ร้อยไหมหน้าเรียว ที่ไหนดี ? ก่อนร้อยไหมควรพิจารณาอะไรบ้าง ? - คลินิกร้อยไหมหน้าเรียวที่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากอะไร ? - วิธีการเลือกการร้อยไหมกับคลินิกร้อยไหม - ร้อยไหมหน้าเรียวกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ดีอย่างไร ?