วี สแควร์

สิวอักเสบเกิดได้อย่างไร มีกี่แบบ ดูแล-ป้องกัน และรักษาวิธีไหนได้บ้าง ?

Reading Time: 4 minutes

สิวอักเสบ 

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด ? แนะนำวิธีรักษา และป้องกันที่เห็นผล

‘ สิวอักเสบ ’ หนึ่งในปัญหาผิวที่สร้างความรำคาญใจ ให้กับใครหลายคน เพราะมักทิ้งรอยดำสิวไว้ให้ดูต่างหน้า แม้จะรักษาจนหายแล้วก็ตาม ก็อาจกลับมาเป็นได้อีกครับ 

ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้ หรือมีปัญหาสิวอักเสบเรื้อรัง เป็นสิวซ้ำซาก หมอมีสาระน่ารู้ เกี่ยวกับ สิวอักเสบมาฝาก สิวมีกี่แบบ เกิดจากสาเหตุใด รักษาป้องกันวิธีไหนได้บ้าง ฉีดมาเด้คอลลาเจน ช่วยได้ไหม ติดตามอ่านได้ในบทความนี้ครับ 


สิวอักเสบ คืออะไร ?

สิวอักเสบ คือ โรคผิวหนังที่มีการอักเสบเรื้อรังของ pilosebaceous unit  ได้แก่ รูขุมขน (follicles) และต่อมไขมัน (sebaceous gland) พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศชาย สามารถจะพบได้ทุกระยะครับ ทั้งสิวอุดตัน (Comedones) เช่น สิวหัวปิดสีดำ หรือสิวหัวขาวอยู่ใต้ผิวหนัง ที่มีแบคทีเรียที่ชื่อว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes (พี-แอคเน่ ) เจริญเติบโตอยู่ในตุ่มสิว โดยที่ P.acnes สามารถดึงดูดเม็ดเลือดขาวเข้ามาในตุ่มสิว ตัวการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ กลายเป็นสิวอักเสบใต้ผิวหนัง  อีกทั้งยังมีเอนไซม์ช่วยในการย่อยน้ำมัน (Sebum) ในตุ่มสิวให้กลายเป็นกรดไขมันที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มอีกด้วย

สาเหตุสิวอักเสบ

         

โดยทั่วไปแล้วอาการสิวอักเสบอาจหายได้เอง โดยไม่ได้รับการรักษา แต่อาจใช้ระยะเวลานาน จึงเป็นตัวการสำคัญที่สร้างความไม่มั่นใจให้กับเจ้าของใบหน้า หลาย ๆ คน จึงพยายามเร่งหาทางรักษา เพราะถ้าไม่รักษาอย่างถูกต้อง อาจเกิดแผล หรือ ปัญหาหลุมสิว ตามมาได้ จึงควรเร่งรักษาสิวอักเสบ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เกิดตามมาภายหลังครับ 


ลักษณะของสิวอักเสบ

ลักษณะสิวอักเสบจะมีความแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรง ตั้งแต่ตุ่มเล็ก ๆ ไปจนถึงตุ่มใหญ่และมีอาการอักเสบน้อยถึงอักเสบมาก เช่น เป็นฝี ถุงหนอง และมักก่อให้เกิดความเจ็บปวดหากสัมผัสโดนบริเวณนั้น 

ลักษณะของสิวอักเสบ

ระดับความรุนแรงของสิว

  1. ระดับที่ 1 (เล็กน้อย) : เป็นสิวที่ไม่มีการอักเสบรุนแรง มีลักษณะเป็นสิวหัวดำ สิวหัวขาว หรือ สิวตุ่ม และสิวหัวหนองที่มีขนาดเล็ก มีจำนวนไม่มาก
  2. ระดับที่ 2 (ปานกลาง) : เป็นสิวตุ่ม และสิวหัวหนองจำนวนมากทั่วใบหน้า หรือทั่วบริเวณที่พบสิว
  3. ระดับที่ 3 (ค่อนข้างรุนแรง) : เป็นสิวตุ่มมีสิวหัวหนองร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นสิวอักเสบก้อนลึก 
  4. ระดับที่ 4 (รุนแรง) : มีสิวตุ่ม และสิวหัวหนองอักเสบที่สร้างความเจ็บปวดไปทั่วบริเวณที่มีสิว

สาเหตุสิวอักเสบ

  1. ฮอร์โมน : การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดสิว โดยระดับฮอร์โมน androgen จะมีระดับสูงในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศชาย ทำให้พบสิวในช่วงอายุนี้มากกว่าช่วงอายุอื่น ๆ ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการสร้างไขมันออกมามากขึ้น ทำให้รูขุมขนกว้าง มีการอุดตันของรูขุมขนตามมา เกิดเป็นสิวอุดตันและกลายเป็นสิวอักเสบในที่สุด 
  2. การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย : การเกิดสิว ยังมาจากการแบ่งตัวของผิวหนังชั้น stratum corneum มากเกินไป (Hyperkeratinization) เชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes การผลิตไขมันที่มากเกิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดสิวอักเสบได้ง่าย
  3. อาหาร : ในกรณีของอาหาร ที่เชื่อว่าอาหารบางชนิดทำให้เกิดสิว เช่น อาหารทอด มัน ของหวาน ช็อกโกแลต ฯ ในความเป็นจริง ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดว่าอาหารเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ แต่ถ้าสังเกตได้ว่าอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งทำให้อาการสิวอักเสบแย่ลง แนะนำหลีกเลี่ยงหรือหยุดรับประทานไว้ก่อนได้ครับ 
เครื่องสำอางสาเหตุสิวอักเสบ
  1. เครื่องสำอาง : การใช้เครื่องสำอางเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวอักเสบ และสิวอุดตันได้ ในผู้ที่มีโอกาสเป็นสิวได้ง่าย หมอแนะนำให้พยายามเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางให้น้อยที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ควรเลือกเครื่องสำอางที่ปราศจากน้ำมัน(oil-free) และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าไม่ทําให้เกิด สิวอุดตันหรือสิวอักเสบ (noncomedogenic และ non-acnegenic) ก็จะไม่ทำให้เกิดสิวหัวเปิดหรือสิวหัวปิด
  2. กรรมพันธุ์ : หากบุคคลในครอบครัวเป็นสิวและมีสภาพผิวมัน จะมีโอกาสเป็นสิวได้มากกว่าผิวชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไปผู้ที่ผิวมันจะมีรูขุมขนกว้าง ผิวหยาบ รวมทั้งหน้ามันเยิ้ม ทำให้สกปรกง่ายต่อการเกิดสิวอักเสบ 

สิวอักเสบมีกี่แบบ

สิวอักเสบ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทโดยแบ่งตามขนาดของตุ่ม การสิวอักเสบ และความรุนแรงของอาการอักเสบ ดังนี้ 

1.สิวตุ่มนูนแดง

สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule) หรือบางคนอาจเรียกสิวหัวช้างไม่มีหัว มีลักษณะเป็นตุ่มแดง เจ็บ ขนาดไม่เกิน 0.5 ซม. ส่วนมากสิวชนิดนี้เป็นสิวอักเสบในระยะแรกที่เปลี่ยนมาจากสิวอุดตัน 

2.สิวหัวหนอง

สิวหัวหนอง หรือ สิวหัวหนอง (Pustule) มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและรู้สึกปวด มีหัวหนองอยู่ข้างบนตุ่ม เป็นสิวที่มีการอักเสบมากกว่าสิวอักเสบตุ่มนูนแดง ซึ่งอาจเกิดจากสิวที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นแทรกซ้อน

3.สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก

สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก (Nodule) มีลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง รู้สึกเจ็บและปวดมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมักมาจากการเป็นสิวอักเสบชนิด Papule แล้วมีการบีบหรือกดสิว จนทำให้แบคทีเรียและน้ำมันในตุ่มสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนัง จึงทำให้สิวยิ่งอักเสบบวมแดงรุนแรงมากขึ้น

4.สิวซีสต์

สิวซีสต์(Acne Cyst) มีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง พบได้ไม่บ่อยนัก ไม่แดง ไม่ปวด มีลักษณะเป็นถุงภายในและมีของเหลวข้นหนืดสีเหลือง สิวชนิดแม้จะรักษาจนยุบแล้ว แต่หลังจากนั้นมักจะกลายเป็นแผลเป็นก้อนนูนแข็งหรือหลุมสิวขนาดใหญ่ 

ประเภทสิวอักเสบ

5.สิวหัวช้าง

สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมาก เกิดจากเป็นสิวอักเสบรุนแรงทุกชนิดขึ้นรวมกันหนาแน่น ลักษณะนูน บวม แดงและมีหัวหนองอย่างเห็นได้ชัด รักษาได้ยาก และหากได้รับการรักษาที่ผิดวิธีอาจทำให้สิวลุกลามติดเชื้อมากขึ้น เซลล์ผิวหนังถูกทำลายจนกลายเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่หรือหลุมสิวถาวร

นอกจากนี้สิวที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ลักษณะของสิวยังจำแนกประเภทออกไปอีก ในกลุ่มของสิวอุดตัน ซึ่งเป็นสิวที่ไม่อักเสบ ได้แก่  

6.สิวหัวดำ (Blackheads)

สิวหัวดำ (Blackheads) หรือสิวหัวเปิด มีลักษณะเป็นสิวขนาดเล็กที่อุดตันอยู่ในรูขุมขน โดยจะทำปฏิกิริยากับสารเมลานินหรือเม็ดสีที่เซลล์ผิวหนัง ทำให้เปลี่ยนเป็นสีดำ  จึงเรียกว่าสิวหัวดำ หากใช้มือลูบโดน จะรู้สึกสาก ๆ แข็งๆ ไม่มีอาการเจ็บปวด สาเหตุมักมาจากการสะสมของสิ่งสกปรก เช่น ล้างหน้าไม่สะอาด หรือนอนโดยยังมีเครื่องสำอางอยู่บนหน้าครับ

7.สิวหัวขาว

สิวหัวขาว (Whiteheads) มีลักษณะคล้าย ๆ สิวอุดตันหัวดำ บางคนเข้าว่าเป็นสิว อักเสบหัวแข็ง ที่ไม่มีทางออกมานอกผิว มองเห็นเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ไม่มีหัวสิว สิวอุดตันประเภทนี้มักนำไปสู่การเป็นสิวอักเสบสูง จึงไม่ควร บีบ  แคะ แกะ เกา 


สิวอักเสบเกิดในตำแหน่งไหนได้บ้าง ?

เนื่องจากสิวเป็นการอักเสบของต่อมไขมัน (sebaceous) ทำให้เรามักพบสิวอักเสบในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น 

  • สิวอักเสบบนใบหน้า
  • สิวอักเสบที่คาง
  • สิวอักเสบที่หน้าผาก
  • สิวอักเสบบริเวณหน้าอก 
  • สิวอักเสบที่หลัง – หลังส่วนบน 
  • สิวอักเสบที่ คอ ไหล่ และต้นแขน

การรักษาสิวอักเสบ

เมื่อพบว่าเกิดสิวอักเสบบนใบหน้า เพื่อป้องกัน การลุกลาม รวมถึงทำลายผิวหนัง การเร่งรักษาถือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติครับ ซึ่งวิธีการรักษาลด สิว ผด สิวอักเสบ ทำได้หลายวิธี โดยหมอจะอธิบายวิธีการรักษาเป็นข้อ ๆ ดังนี้    

1.รักษาสิวด้วยสกินแคร์ 

การรักษาสิวด้วยสกินแคร์ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสิวแบบปานกลาง ซึ่งส่วนใหญ่สกินแคร์ดูแลสิวอักเสบจะมีส่วนผสมของ กรดไฮดรอกซี (Hydroxy Acid)  เช่น กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) หรือ AHA  และ กรดเบต้าไฮดรอกซี  (Beta hydroxy acid) หรือ BHA  ซึ่งเป็นกรดอ่อนที่ออกฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิว จึงช่วยลดการอุดตันที่เป็นต้นตอของปัญหาสิวอักเสบได้ จึงทำให้รอยสิวดูจางลง กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวหน้าดูสดใสขึ้นได้ครับ 

2.รักษาด้วยผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า  

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้ามีหลายชนิด ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี จะต้องควบคู่กัน และใช้อย่างสม่ำเสมอครับ เช่น 

  • เจลล้างหน้า : ช่วยขจัดสิ่งสกปรก ลดโอกาสเกิดสิวอุดตัน สาเหตุของสิวอักเสบ วิธีการเลือกใช้ควร เลือกให้เหมาะสมสภาพผิว หรือเจลล้างหน้าสำหรับคนเป็นสิวโดยเฉพาะ เพราะมีคุณสมบัติที่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกได้ดี และไม่ทำให้ผิวหน้าแห้งตึงเกินไป  
  • ครีมบำรุง : เพื่อช่วยลดการเกิดสิว ครีมบำรุงควรมี ทำให้ผิวยังคงแข็งแรง ชุ่มชื้น ไม่แห้งลอก อาจเลือกใช้เป็น มอยส์เจอไรเซอร์ ที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดสิวอุดตัน และลดรอยดำรอยแดงจากสิวได้ด้วย 
  • ครีมกันแดด:  ครีมกันแดดเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่ควรละเลย เพราะแสงแดดเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้การอักเสบของสิวรุนแรงขึ้นครับ แนะนำให้เลือกใช้ครีมกันแดดแบบคุมมัน หรือ Sun dry touch oil control  เพราะเหนอะหนะผิว และช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้ดี 

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ในแต่ละบุคคลอาจมีความเหมาะสมแตกต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับสภาพผิว และระดับความรุนแรงสิวอักเสบ ทางที่ดีก่อนเลือกใช้ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังร่วมด้วย 

3.รักษาด้วยยาทาภายนอก 

ยาทารักษาสิวอักเสบเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะสะดวกและผลข้างเคียงน้อย เมื่อเทียบกับยารับประทาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวปานกลาง ไปจนถึงมาก  เช่น 

  • ยากลุ่ม Benzoyl peroxide 
  • ยาทาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Topical antibiotics)  
  • ยาทาเรตินอยด์ (อนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ)

แนะนำให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง หรือเภสัชกร โดยกลุ่มยาทาเหล่านี้จะมีสารสำคัญที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง

รักษาสิวอักเสบ

4.การกดสิว

วิธีการกดสิว เพื่อรักษาสิวอักเสบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่หลายคนนิยม ซึ่งจริง ๆ แล้วการกดสิว เหมาะสมผู้ที่มีปัญหาสิวตุ่มและสิวหนองครับ เพราะหนองสิวอยู่ตื้นสามารถกดออกได้ แต่ต้องกดอย่างถูกวิธี ไม่เช่นนั้นอาจเป็นการกระตุ้นให้สิวอักเสบรุนแรง ซึ่งหากเป็นหมอกดสิว ที่กดอย่างถูกต้องอาจจะต้องเจาะหัวสิวอักเสบก่อน เพื่อเป็นการเปิดหัวสิวให้หนองออกง่าย ๆ ไม่ทิ้งรอยแดง หรือรอยแผลเป็นตามมา 

แต่ในผู้มีปัญหาสิวอักเสบรุนแรง (สิวหัวช้าง,สิวซีสต์) การกดสิวเองอาจจะไม่เหมาะสมครับ อาจจะต้องกรีดผิวหนังและบีบระบายหนองออก แล้วทำความสะอาด ทายาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบรุนแรง และควรใช้เครื่องมือกดสิวเฉพาะทางการแพทย์ผิวหนังเท่านั้นถึงจะได้ผลดี  

5.ฉีดมาเด้-เมโสหน้าใส 

การฉีดมาเด้ คอลลาเจน (made collagen) รวมถึงตัวยาเมโสหน้าใส สามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิว ขับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในผิว ลดผิวอักเสบ ลดผื่นแพ้ ลดสิว 

ฉีดมาเด้รักษาสิวอักเสบ

ฉีดเมโสหน้าใสกับคลินิกที่ได้มาตรฐาน และแพทย์มีประสบการณ์

หลังฉีดมาเด้ยังช่วยให้หน้าขาวใสขึ้นบางส่วน เพราะในส่วนผสมของ มาเด้คอลลาเจน และเมโสหน้าใสจะมีอาหารผิวต่าง ๆ อีกหลายชนิด เช่น Vitamin A, B, C, E Transamin, Glutatione หรือเมโสหน้าใสกลุ่มที่ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวชุ่มชื้น เซลล์ผิวฟื้นฟูจากสารพิษได้ไวที่สุด และช่วยชะลอการเสื่อมของคอลลาเจน สามารถเห็นผลได้ตั้งแต่ครั้งแรก แต่หากต้องการให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนดียิ่งขึ้น ควรฉีดอย่างต่อเนื่อง 1 ครั้ง1 ต่อสัปดาห์ โดยฉีดติดต่อกันฉีด 5 ครั้ง ขึ้นไปครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทั้ง 5 วิธีการรักษาสิวอักเสบที่หมอกล่าวมาเป็นเพียงการรักษาขั้นพื้นฐาน ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งแพทย์ผิวหนังจะต้องพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป โดยเฉพาะผู้มีสิวอักเสบขึ้นเยอะมาก ๆ อาจต้องรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ 

  • การฉีดยาสิวอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ 
  • การใช้เลเซอร์เพื่อลบรอยสิวอักเสบ เช่น Pulsed dye laser หรือ Nd:YAG 
  • การใช้แสงที่มีความเข้มข้นสูงเพื่อลดการอักเสบและฆ่าเชื้อ C. acnes เช่น Blue light Therapy, ALA and Light therapy, Intense Pulsed Light (IPL) และ Light and Heat Energy (LHE) ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงขึ้นครับ 

เป็นสิวอักเสบไปหาหมอดีไหม ? 

หากมีปัญหาสิวอักเสบเรื้อรัง และยังกระจายไปทั่วใบหน้าจนทำลายผิวหนัง หมอแนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมครับ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะสร้างความเจ็บ แล้วยังทำให้เจ้าของใบหน้าสูญเสียความมั่นใจ รวมถึงยังเป็นการทำลายผิว ทิ้งรอยแผลเป็นที่รักษาได้ยากในอนาคตได้ 


การดูแลตนเองเมื่อเป็นสิวอักเสบ

เมื่อมีปัญหาสิวอักเสบ การดูแลผิวหน้าตัวเองถือว่าสำคัญครับ บางคนอาจไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ได้ยาทา หรือยารับประทานมาแล้ว แต่ก็ยังต้องดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย ดังนี้  

  • ควรใช้สบู่อ่อน ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี และควรล้างหน้าให้สะอาดวันละ 1-2 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางไปก่อน หากจำเป็นควรแต่งหน้าให้น้อยที่สุดและเลือกใช้เครื่องสำอางสูตรไม่ก่อให้เกิดสิวครับ ที่สำคัญควรล้างทำความสะอาดก่อนนอน 
  • เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ เน้นผักและผลไม้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึกและอดนอน เพราะจะทำให้สิวอักเสบกำเริบได้ง่าย
  • หากไปพบแพทย์มาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการทายาและรับประทานยา

การป้องกันสิวอักเสบ

การป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นสิวอักเสบ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม  โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด เพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดสิวอักเสบ ดังนี้ 

  • ล้างหน้าให้สะอาด โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน รวมถึงใช้โทนเนอร์เช็ดคราบสกปรกหรือเครื่องสำอางออกให้หมดก่อนบำรุงผิว 
  • หมั่นทำความสะอาดเส้นผม เพื่อลดไขมันบนเส้นผมที่อาจทำให้เป็นสิวได้
  • ดูแลทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น เปลี่ยนผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทุกอาทิตย์ เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดตุ่ม สิวผด สิวไม่มีหัว แก้มเป็นผื่นผด หรือสิวอักเสบที่แก้มได้
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ 
  • บำรุงผิวให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่นการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การรับประทานผักผลไม้ การรับประทานวิตามินเสริมอาหาร รวมถึง สามารถการฉีดเมโสหน้าใส และการฉีดวิตามินผิว เพื่อบำรุงผิวพรรณให้แข็งแรงอยู่เสมอ 

บทความที่เกี่ยวข้อง


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวอักเสบ

1. สิวอักเสบบีบได้ไหม ช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นจริงรึเปล่า ? 

การบีบสิวอักเสบเป็นสิ่งที่หมอไม่แนะนำครับ เพราะการบีบ เค้น แคะ แกะ เกาบริเวณอักเสบจะทำให้อาการอักเสบรุนแรงมากขึ้น หากต้องการกดสิว แนะนำให้เข้ารับการกดสิวโดยแพทย์ผิวหนัง 

บีบสิวอักเสบ

2. สิวอักเสบกี่วันหาย ? 

ระยะเวลารักษาสิวอักเสบขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา และความรุนแรงของอาการอักเสบ หากรักษาโดยแพทย์จะหายได้เร็ว หากรักษาด้วยตัวเองในกรณีที่สิวอักเสบไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ภายใน 4-6 สัปดาห์โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับการดูแล  

3. เป็นสิวอักเสบใช้ครีมกันแดดได้ไหม ?

สามารถใช้ได้ครับ แต่ต้องเลือกครีมกันแดดแบบ Physical ไม่มีสารเคมี และไม่ทำให้ระคายเคือง และลดโอกาสการเป็นสิวอุดตัน 

4. สิวอักเสบหายเองได้ไหม ?

การรักษาสิวอักเสบ หรือรักษาสิวอุดตันด้วยตัวเอง สามารถทำได้ และสิวสามารถหายได้เอง แต่เฉพาะในบางเคสครับ หากรู้วิธีดูแลรักษาอย่างดี แต่หากปล่อยให้สิวอักเสบ หรืออุดตันนาน ๆ ข้อเสียคือ อาจทำลายผิวหนังและทำให้เกิดรอยแผล ทั้งรอยด่างดำ บางคนอาจเกิดเป็นหลุมสิว ที่รักษาได้ยาก แนะนำให้รีบทำการรักษาตามอาการ 

5. สิวอักเสบรักษานานแค่ไหน ?

ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และวิธีการรักษาครับ หากอาการไม่มาก และทำการรักษา เฉลี่ยสามารถดีขึ้นได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้ามีสิวอักเสบรุนแรง และยังมีสิวอุดตันร่วมอาจใช้เวลารักษาเป็นเดือนครับ ซึ่งวิธีการรักษามีทั้งยาทา ยากิน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีรักษาสิว อื่น ๆ ตามความเหมาะสม  

6. มีสิวอักเสบบริเวณจมูกผ่าตัดเสริมจมูกได้ไหม ? 

 หากมีสิวอักเสบบริเวณที่เสริมจมูก หมอยังไม่แนะนำให้เสริมจมูกครับ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมจมูกแบบเปิด หรือการเสริมจมูกแบบปิด เพราะอาจมีการติดเชื้อมาถึงซิลิโคนด้านในได้ เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา แนะนำรักษาให้หายก่อน หรือถ้าใครที่เสริมจมูกมาแล้วมีสิวอักเสบบริเวณจมูกขึ้นที่หลัง ในกรณีนี้แนะนำให้เข้ามาพบแพทย์ เพื่อรีบรักษาให้หาย เลี่ยงการอักเสบที่ลุกลามไปจนถึงซิลิโคนเสริมจมูกด้านใน ซึ่งยากต่อการแก้ไขครับ 


สรุป

สิวอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกันครับ เพียงแต่ต้องใช้เวลา และให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง ซึ่งวิธีรักษาสิวอักเสบที่ดีที่สุด คือการปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาให้ตรงจุด ช่วยให้รักษาให้หายได้เร็วขึ้น ลดโอกาสการเกิดหลุมสิว รอยดำ รอยแดง รอบแผลเป็นจากสิวอักเสบลงได้


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรรู้อะไรบ้าง ข้อดี-ข้อควรระวัง เครื่องไหนดีที่สุด ต่างจากวิธีอื่นอย่างไร ?

Reading Time: 4 minutes - วิธีการกำจัดขนขา - หลักการทำงานของ Laser ขนขา - ข้อดี - ข้อควรระวังของการ Laser ขนขา - เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรเตรียมตัวอย่างไร ? - ข้อควรรู้ก่อนเลเซอร์ขนขา

เลเซอร์บิกินี่ คืออะไร ? มีกี่แบบ ? ทำกี่ครั้งถึงจะเห็นผล...

Reading Time: 4 minutes - เลเซอร์บิกินี่ คืออะไร ? - เลเซอร์บิกินี่ กับ บราซิลเลี่ยน ต่างกันยังไง ? - เลเซอร์บิกินี่อันตรายไหม ? - ความเสี่ยง และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น- หลังทำเลเซอร์บิกินี่

เลเซอร์ขนจิมิ กำจัดขนน้องสาวครั้งแรก เตรียมตัวอย่างไร ? เ...

Reading Time: 3 minutes - เลเซอร์ขนจิมิ คืออะไร ? - เลเซอร์ขนจิมิมีกี่แบบ ? แบบไหนเหมาะกับเรา ? - เลเซอร์ขนจิมิอันตรายไหม ? - เลเซอร์ขนจิมิช่วยอะไรได้บ้าง ? - ข้อดี ข้อเสียเลเซอร์ขนจิมิ มีอะไรบ้าง ?

collagen คืออะไร ? มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ?

Reading Time: 4 minutes - collagen คือ - คุณสมบัติของ collagen - ประโยชน์ของ collagen ช่วยอะไรได้บ้าง ? - collagen นำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? - collagen มีกี่ประเภท ?

Skin Booster คืออะไร ? ดีอย่างไร ? ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ? เ...

Reading Time: 5 minutes Skin Booster คืออะไร มีความอันตรายหรือไม่ และเหมาะสำหรับใครบ้าง ? บทความนี้หมอจะพาไปค้นหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ ว่าสกินบูสเตอร์แต่ละตัวช่วยอะไรได้บ้าง สามารถฉีดได้ที่ตำแหน่งใดบ้าง ราคาเท่าไหร่ ฉีดอย่างไรให้คุ้มค่า ?

เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? ต้องทำกี่ครั้ง ? ทำแล้วขนหายถาว...

Reading Time: 2 minutes - เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? - เลเซอร์ขนทำแล้วขนหายถาวรไหม ? - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลเซอร์ขนแล้วขนไม่หลุดเกิดจากอะไร ?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า